วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีดนตรี

การอ่านโน้ต (Note Reading) บรรทัดสำหรับบันทึกตัวโน้ต (Staff) ประกอบด้วยเส้นตรงแนวนอน 5 เส้น ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างบรรทัด 4 ช่อง การนับเส้นหรือช่องนั้น นับจากข้างล่างขึ้นข้างบน
การเรียกชื่อตัวโน้ต ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อตัวโน้ต โดยใช้อักษรโรมัน 7 ตัวแรกได้แก่ A B C D E F G
โด เร มี ฟา ซอล ลา ที C D E F G A B
กุญแจประจำหลัก (Clef) เป็นเครื่องหมายที่ปรากฏอยู่ที่ตรงจุดเริ่มต้นของบรรทัด 5 เส้น (Staff) ทำหน้าที่บ่งบอกว่าว่าตัวโน้ตที่อยู่ในเส้นใดคือตัวโน้ตใด เช่นถ้าปรากฏเครื่องหมายกุญแจซอลจะเห็นว่ามีจุดเริ่มต้นขมวดอยู่บนเส้นที่ แสดงว่าตัวโน้ตที่อยู่บนเส้นที่ 2 คือโน้ต ซอล เป็นต้น กุญแจประจำหลักที่มักพบเสมอๆได้แก่ กุญแจซอล (Treble clef) และกุญแจฟา (Bass clef)
ในการบันทึกโน้ตเพลงที่มีเสียงประสาน เช่น โน้ตเพลงสำหรับเปียโน และเพลงขับร้องประสานเสียงเป็นต้น ก็จะบันทึกโน้ตลงบนบรรทัดรวมใหญ่ (Grand staff) ประกอบด้วย บรรทัด 5 เส้นที่มีกุญแจซอลอยู่บรรทัดบน และบรรทัด 5 เส้นที่มีกุญแจฟาอยู่บรรทัดล่าง โดยมีเส้นแนวดิ่งเชื่อมบรรทัด 5 เส้นทั้งสองเข้าด้วยกัน
จะเห็นว่าถ้าเลื่อนบรรทัด 5 เส้นทั้งสองให้ชิดกัน ก็สามารถบันทึกตัวโน้ตได้อย่างต่อเนื่องโดยมี โน้ต โด เป็นตัวเชื่อมอยู่ตรงกลางระหว่าง 5 เส้นบนและ 5 เส้นล่าง ขีดสั้นๆที่ตัวโน้ต โด ซึ่งอยู่ระหว่างบรรทัด 5 เส้นล่างและบรรทัด 5 เส้นบน เรียกว่า เส้นน้อย(Ledger lines) ใช้บันทึกตัวโน้ตที่มีเสียงสูงหรือต่ำกว่าบรรทัด 5 เส้นที่ใช้อยู่ในขณะนั้น เส้นน้อยแต่ละเส้นใช้สำหรับตัวโน้ตแต่ละตัวเท่านั้น.
รูปแสดงเส้นน้อย (Ledger lines) ของ Treble clef และ Bass clef อัตราของตัวโน้ต (Note Values) อัตรายาวและสั้นของตัวโน้ตลักษณะต่างๆ มีดังนี้. ตัวกลม (Whole Note) คือตัวเต็มของอัตราแห่งตัวโน้ต เครื่องหมาย ตัวหยุด (Rest) ที่มีอัตราเท่าตัวกลม คือขีดหนาชิดกับด้านล่างของเส้นที่ 4 ตามรูป ตัวขาว (Half Note) มีค่าครึ่งหนึ่งของตัวกลม เครื่องหมายตัวหยุด (Rest) ที่มีอัตราเท่าตัวขาว คือขีดหนา ชิดกับด้านบนของเส้นที่ 3 ตามรูป ตัวดำ (Quarter Note) มีค่า 1/4 ของตัวกลม เครื่องหมายหยุด (Rest) มี ลักษณะตามรูป ตัวเขบ็ต 1 ชั้น (Eighth Note) มีค่า 1/8 ของตัวกลม เครื่องหมายหยุด(Rest) มีลักษณะดังแสดงในรูปข้างบน ตัวเขบ็ต 2 ชั้น (Sixteenth Note) มีค่า 1/16 ของตัวกลม เครื่องหมายหยุด (Rest)มีลักษณะตามรูปข้างบน
เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature) เราทราบว่าเพลงบทนั้นมีจังหวะเร็วหรือช้าอย่างไร ด้วยการดูตัวเลขที่เขียนเป็นเศษส่วน ต่อจาก กุญแจประจำหลัก (Clef) เลขตัวล่าง หมายถึงลักษณะของตัวโน้ตที่ต้องการให้ยึดเป็นเกณฑ์หนึ่งจังหวะ เช่น ถ้าตัวล่างเป็น 1 หมายความว่า ตัวกลม 1 ตัวนับเป็น 1 จังหวะ ถ้าตัวล่างเป็น 2 หมายความว่า ตัวขาว 1 ตัวนับเป็น 1 จังหวะ (ตัวกลม 1 ตัวนับเป็น 2 จังหวะ) ถ้าตัวล่างเป็น 4 หมายความว่า ตัวดำ 1 ตัวนับเป็น 1 จังหวะ (ตัวกลม 1 ตัวนับเป็น 4 จังหวะ) ถ้าตัวล่างเป็น 8 หมายความว่า ตัวเขบ็ต 1 ชั้น 1 ตัวนับเป็น 1 จังหวะ (ตัวกลม 1 ตัวนับเป็น 4 จังหวะ) ถ้าตัวล่างเป็น 16 หมายความว่า ตัวเขบ็ต 2 ชั้น 1 ตัวนับเป็น 1 จังหวะ (ตัวกลม 1 ตัวนับเป็น 16 จังหวะ) เลขตัวบน หมายถึงจำนวนของตัวโน้ต (ซึ่งมีตัวเลขแทนลักษณะปรากฏอยู่ข้างล่างแล้วนั้น) ใน ห้องหนึ่งๆต้องมีตัวโน้ต และ/หรือตัวหยุดรวมกันแล้วตรงกับจำนวนตัวเลขตัวบน อัตราผสม 3 พยางค์ ให้สังเกตตัวอย่างข้างล่างนี้ มีเลขกำหนดจังหวะ (Time signature) ตัวล่างเป็นเลข 8 หมายถึงตัวเขบ็ต 1 ชั้นนับเป็น 1 จังหวะ เมื่อโน้ตตัวดำมีจุด หมายถึงต้องเพิ่มค่าขึ้นอีกครึ่งหนึ่ง จึงมีค่าเท่ากับตัวเขบ็ต 1 ชั้น 3 ตัว เรียกว่า 3 พยางค์ เครื่องหมายกำหนดจังหวะที่เป็น “ซีตัด” เครื่องหมาย “ซีตัด” หมายถึงโน้ตตัวกลมมีค่าเท่ากับ 2 จังหวะ ตัวโน้ตที่มีจุดตัวโน้ตชนิดใดก็ตามถ้ามีจุด จะมีค่าเพิ่มขึ้นอีก ครึ่งเท่าเสมอ เช่นถ้าตัวขาวมีจุด จะมีค่าเท่ากับตัวดำ 3 ตัว เป็นต้น เครื่องหมายโยงเสียงให้ติดกัน ถ้าต้องการให้โน้ตที่อยู่ใกล้เคียงกันมีเสียงต่อเนื่องกัน ใช้เส้นโค้ง โยง 2 โน้ตเข้าด้วยกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
เครื่องหมายแปลงเสียง (Accidentals) เครื่องหมาย “ช้าป” # วางไว้หน้าโน้ตตัวใด โน้ตตัวนั้นจะมีเสียงสูงขึ้น ครึ่งเสียง เครื่องหมาย “แฟล็ต” b วางไว้หน้าโน้ตตัวใด โน้ตตัวนั้นจะมีเสียงต่ำลง ครึ่งเสียง เครื่องหมาย “เนเจรัล” วางไว้หน้าโน้ตตัวใด หมายถึงลบล้าง “ช้าป” หรือ “แฟล็ต”ที่มีอยู่เดิม ทฤษฎีดนตรีสากล (Music Theory) ขั้นของเสียง (Intervals) หมายถึงระดับเสียงที่ต่างกันระหว่างตัวโน้ต 2 ตัว นับจากโน้ตตัวล่าง ขึ้นมายังโน้ตตัวถัดมาที่สูงกว่า ขั้นของเสียงที่เห็นเป็นรูปธรรมได้แก่คีย์บอร์ดของเปียโนหรือ ออร์แกน ซึ่งลิ่มนิ้วสีขาวกับสีดำที่อยู่ติดกันจะห่างกันครึ่งขั้นเสียง ส่วนระยะขั้นเสียงระหว่างลิ่ม นิ้วสีขาวสองลิ่มนิ้วที่อยู่ติดกัน มีค่าเท่ากับ 1 ขั้นเสียง (Whole step) ยกเว้นลิ่มนิ้วสีขาวของโน้ต E กับ F และ B กับ C ซึ่งห่างกันเพียง ครึ่งขั้นเสียง (Half step)
ระยะขั้นคู่เสียง โน้ตสองตัวที่มีระดับเสียงเท่ากัน เรียกว่า Unison ระยะขั้นระหว่างสองโน้ตที่อยู่ติดกัน เรียกว่าคู่ 2 เช่น C -- D ระยะขั้นระหว่างโน้ตสองตัวที่อยู่ห่างกัน 3 ขั้น เรียกว่าคู่ 3 เช่น C ---- E ระยะขั้นระหว่างโน้ตสองตัวที่อยู่ห่างกัน 4 ขั้น เรียกว่าคู่ 4 เช่น C ----- F ระยะขั้นระหว่างโน้ตสองตัวที่อยู่ห่างกัน 5 ขั้น เรียกว่าคู่ 5 เช่น C ------- G ระยะขั้นระหว่างโน้ตสองตัวที่อยู่ห่างกัน 6 ขั้น เรียกว่าคู่ 6 เช่น C --------- A ระยะขั้นระหว่างโน้ตสองตัวที่อยู่ห่างกัน 7 ขั้น เรียกว่าคู่ 7 เช่น C ----------- B ระยะขั้นระหว่างโน้ตสองตัวที่อยู่ห่างกัน 8 ขั้น เรียกว่าคู่ 8 เช่น C ------------C ขั้นคู่ Unison, คู่ 4, คู่ 5, และคู่ 8 เรียกว่าขั้นคู่ Perfect
ระดับเสียงและชื่อทางดนตรี (Pitches And Musical Names) การกำหนดให้เสียงมีระดับสูงต่ำกว่ากันตามชื่อเรียกได้ต้องมีบรรทัด 5 เส้น ภาษาอังกฤษเรียก สต๊าฟ (STAFF) ไว้สำหรับให้ตัวโน้ตยึดเกาะ มีส่วนประกอบคือ จำนวนเส้น 5 เส้น จำนวนช่อง 4 ช่อง
เส้น
ช่อง
การบันทึกตัวโน้ตลงบนบรรทัด 5 เส้นทำได้ 2 แบบ โดยการบันทึกจะต้องชัดเจนแน่นอน
1.ให้หัวตัวโน้ตวางบนเส้น (On a Line)
2.ให้หัวตัวโน้ตวางในช่อง (In a Space)
เราจะสามารถบอกชื่อตัวโน้ตต่างๆได้ ก็ต้องมีเครื่องหมายเฉพาะกำกับไว้ก่อนหน้าตัวโน้ต เครื่องหมายเฉพาะนี้เรียกว่า เครื่องหมายประจำหลัก ที่เราจะศึกษานี้ มี 2 ชนิด คือ กุญแจซอล อังกฤษเรียกว่า G Clef หรือ Treble Clef
ชื่อตัวโน้ตเมื่อเขียนลงบรรทัด 5 เส้นพร้อมกุญแจซอล มีหลักเพื่อให้จำง่ายขึ้นคือ
โน้ตคาบเส้น Every Good Boy Does Fine
โน้ตในช่อง FACE
กุญแจฟา อังกฤษเรียกว่า F Clef หรือ Bass Clef ชื่อตัวโน้ตเมื่อเขียนลงบรรทัด 5 เส้นพร้อมกุญแจฟา มีหลักเพื่อให้จำง่ายขึ้นคือโน้ตในช่อง A Child Enjoys Games โน้ตคาบเส้น Go Back and Dance For A while
การบันทึกตัวโน้ตทีอยู่ต่ำหรือสูงกว่าบรรทัดห้าเส้น เรามีเส้นน้อย ภาษาอังกฤษเรียกว่า Leger Line หรือ Ledger Line เพื่อให้ตัวโน้ตยึดเกาะไว้ ดังนี้
โน้ตชื่อ C ที่วางทับกึ่งกลางเส้นน้อย ทั้งที่อยู่ใน Treble Clef หรือ Bass Clef ทั้งสองมีเสียงตรงกัน คือ C กลาง (Middle C)
เมื่อมีเส้นน้อยแล้ว ทำให้เรามีตัวโน้ตเพิ่มขึ้นทั้งทางเสียงสูงและเสียงต่ำ ชื่อตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น ของกุญแจซอล (Treble Clef)
ชื่อตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น ของกุญแจฟา (Bass Clef)
• • คือซีกลาง ( Middle C ) ตำแหน่งและลักษณะการบันทึกตัวโน้ต และตัวหยุด สำหรับโน้ตตัวขาว ตัวดำ หรือตัวเขบ็ตหนึ่งชั้นรวมทั้งการบันทึกตำแหน่งตัวหยุดลงบนบรรทัด 5 เส้น ไม่ว่าจะอยู่ในกุญแจซอล หรือกุญแจฟา หรือกุญแจใดก็ตาม (ต้องเป็นโน้ตแนวเดียวไม่ใช่รูปแบบประสานเสียง) เราใช้วิธีการบันทึกดังนี้ ข้อสำคัญ ให้ถือเกณฑ์ เส้นที่ 3 ของบรรทัด 5 เส้น เมื่อหัวตัวโน้ตอยู่ต่ำกว่าเส้นที่สามให้มีเส้นตรงชี้ขึ้น
แต่ถ้าหัวตัวโน้ตอยู่สูงกว่าเส้นที่สามให้มีเส้นตรงชี้ลง
สำหรับหัวตัวโน้ตที่อยู่บนเส้นที่สามพอดี อาจจะใช้เส้นตรงชี้ขึ้นหรือลงก็ได้ตามความเหมาะสม
ส่วนความสูงของเส้นก็จะสูงพองาม(ประมาณขั้นคู่แปด)
สำหรับระยะช่องไฟระหว่างตัวโน้ตและตัวหยุดในแต่ละตัวให้แบ่งตามส่วนความกว้างภายในห้องให้สมดุลย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น